top of page
  • Writer's picturePR NEWS FOCUS

กรมทรัพยากรน้ำร่วมสนองโครงการตามแนวพระราชดำริ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อความสุขที่ยั่งยืน


ด้วยความมุ่งมั่น และพระราชหฤทัยในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการมีอาชีพที่มั่นคง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นอกจากการส่งเสริมด้านอาชีพแล้ว “น้ำ คือ ปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความเจริญงอกงามให้สรรพชีวิต”


อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตรซึ่งช่วยแก้วิกฤตน้ำแล้งและการขาดแคลนแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรของราษฎร


อ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว เดิมเป็นลำห้วยพื้นราบระหว่างช่องเขาหลายลูกเรียงราย มีทางไหลมาจากช่องเขามาบรรจบกันเป็นลำน้ำห้วยแก้ว รับน้ำที่ไหลทอดยาวมาจากม่อนหรือดอย ผ่านพื้นที่ราบช่องเขามารวมกันอดีตพอได้กักเก็บน้ำให้ชาวบ้านใช้ในช่วงหน้าแล้งเวลาผ่านไปอ่างตื้นเขิน กักเก็บน้ำได้น้อยลง หน้าแล้งน้ำแห้งเกือบหมด ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรน้ำ จึงเข้าไปดำเนินการสร้างอ่างเก็บน้ำ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร สูง 24 เมตร ยาว 329 เมตร สามรถเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ 2 ล้าน 1 แสน 8 หมื่นลูกบาศก์เมตร มีทางระบายน้ำล้นแบบ Chute Spillway สามารถระบายน้ำได้ 94 ลูกบาศก์เมตร/วินาที พร้อมจัดทำระบบกระจายน้ำแบบ Gravity ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก เป็นระบบส่งน้ำจากที่สูง - ลงสู่ที่ต่ำโดย ผ่านระบบท่อส่งน้ำชนิด HDPE ความยาวระบบส่งน้ำ 12 .4 กิโลเมตร เข้าพื้นที่ทำการเกษตรโดยมีชุดควบคุมการเปิด-ปิดน้ำเพื่อควบคุมการไหลของน้ำ มีราษฎรได้รับประโยชน์ 4 หมู่บ้าน รวม 950 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรกรรม 5 พันไร่


เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน กรมทรัพยากรน้ำ จึงนำกระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว โดยจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ “กลุ่มอนุรักษ์พัฒนาอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว” เกษตรกรร่วมกันคิด ร่วมทำ ร่วมวางกฎ กติกา การบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยแก้วส่งผลให้เกษตรกรทุกครัวเรือนมีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกอย่างเท่าเทียมกันได้ตลอดทั้งปี


ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำห้วยแก้วฯ และชุมชนห้วยแก้ว อำเภอสันทราย เป็นตัวอย่างความสำเร็จ ของกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน อันเป็นสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ที่ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่ทั่วประเทศ

12 views0 comments
bottom of page